วันพุธที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

เกษตรอินทรีย์ มีรายได้ตลอดปี

“แต่ก่อนไม่รู้เป็นอะไรเจ็บป่วยบ่อยมาก พอไปตรวจเลือดจึงได้รู้ว่ามีสารพิษปนเปื้อนอยู่ในร่างกายเป็นจำนวนมาก นี่คงเป็นผลพวงของการทำเกษตรโดยใช้สารเคมีมาเป็นเวลานาน แต่เมื่อเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์ ร่างกายก็แข็งแรงขึ้น ต้นทุนในการผลิตลดลง เงินเก็บก็เยอะขึ้นด้วย” ลุงสว่าง อินต๊ะ หมอดินอาสาของสถานีพัฒนาที่ดินเชียงใหม่ บ้านท่ากว้าง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เล่าให้ฟัง

ลุงสว่าง เคยทำเกษตรเคมีมาก่อน แต่พอหลังจากได้ไปอบรมและศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีการตรวจสุขภาพโดยการตรวจเลือด และพบสารพิษในร่างกายขั้นอันตราย จากนั้นจึงได้กลับมาทบทวนดูว่าคงทำเกษตรเคมีต่อไปไม่ได้แล้ว จึงได้เปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ด้วยการหันกลับมาทำเกษตรอินทรีย์แทน โดยเริ่มจากการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ประกอบกับที่ตนเป็นหมอดินอาสา ของกรมพัฒนาที่ดิน จึงได้มีโอกาสไปศึกษาอบรมในเรื่องของการลด ละ เลิกการใช้สารเคมีทางการเกษตร การลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งได้รับปัจจัยการผลิตที่กรมพัฒนาที่ดินหยิบยื่นให้ เช่น สารเร่งจุลินทรีย์เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ แล้วค่อย ๆ ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงเรื่อย ๆ

ในการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรในช่วงแรกนั้นจะค่อย ๆ ลดปริมาณการใช้ลง เช่น เมื่อก่อนใช้ปุ๋ยเคมี 5 กระสอบต่อ 1 ไร่ ก็ลดปริมาณการใช้ลงเหลือ 2 กระสอบต่อ 1 ไร่ แต่จะใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกลงไปแทน จากนั้นจึงลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีเรื่อยมา จนปัจจุบันนี้แทบไม่ใช้ปุ๋ยเคมีเลยหากไม่จำเป็น

ปัจจุบันลุงสว่างปลูกพืชผักสวนครัวและพืชสมุนไพรเป็นหลัก เช่น โหระพา กระเพรา แมงลัก และใบยี่หร่า มีพื้นที่ในการปลูก 2 ไร่ มีรายได้จากการเก็บพืชผักสวนครัวเหล่านี้ขายวันละ 300-500 บาท และสามารถเก็บขายได้ทุกวันตลอดทั้งปี ทำให้มีเงินเหลือเก็บประมาณ 30,000-40,000 บาทต่อปี

นอกจากนี้ สวนของลุงสว่างยังเป็น ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ที่ มีเกษตรกรในท้องถิ่นมาดูงานปีละไม่ต่ำกว่า 800-900 คน โดยเกษตรกรที่มาอบรมจะได้เรียนรู้วิถีชีวิตตามแบบเศรษฐกิจพอเพียง การลดต้นทุนการผลิต การลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมถึงการทำเกษตรเข้าสู่เกษตรอินทรีย์ด้วย

“ปัจจุบันตั้งแต่หันมาทำเกษตรอินทรีย์ ในด้านสุขภาพไม่ต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อยเหมือน แต่ก่อน ที่สำคัญสุขภาพจิตก็ดีขึ้นด้วย ส่วนในด้านของต้นทุนการผลิตนั้น เมื่อก่อนตอนปลูกพืชโดยใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตรพอเก็บผลผลิตแล้วก็ ต้อง ไถทิ้ง ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจ้างรถมาไถประมาณ 2-3 เดือนต่อครั้ง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง อีกทั้งปุ๋ยเคมีมีราคาแพงมาก แต่เมื่อหันมาทำเกษตรอินทรีย์ ได้ผลิตปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยชีวภาพใช้เองโดยนำเศษวัสดุเหลือจากการทำเกษตร มาทำปุ๋ยอินทรีย์ ไม่ต้องไปซื้อหาที่ไหน จึงสามารถลดค่าใช้จ่ายไปได้มากถึง 60%” นายสว่าง กล่าวย้ำ

สุดท้ายนี้ก่อนจาก ลุงสว่าง ยังได้ฝากคำแนะนำดี ๆ มายังเพื่อนเกษตรกรด้วยว่าการทำเกษตรเคมีทำให้มีรายจ่ายสูง หากเกษตรกรรายใดยังทำอยู่ ถ้าสามารถลดละเลิกได้ก็ควรทำ หันมาเข้าสู่วิถีเกษตรอินทรีย์โดยการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกดีกว่า นอกจากจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้มากแล้ว ยังทำให้สุขภาพของเราดีขึ้นอีกด้วย ซึ่งพิสูจน์มาแล้วกับตัวเอง

หากเกษตรกรรายใดสนใจวิถีการทำเกษตรอินทรีย์ที่สามารถสร้างทั้งสุขภาพที่ดี และรายได้ตลอดทั้งปีอย่างลุงสว่าง อินต๊ะ สามารถสอบถามเพิ่มเติมไปได้ที่ 08-9634-5361 รับรองว่าจะได้ข้อมูลอย่างไม่มีกั๊กแน่นอน.

ขอขอบคุณหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันอังคาร ที่ 24 สิงหาคม 2553

วิจัยเกษตรอินทรีย์ เพิ่มธาตุอาหารในดิน

นายฉลอง เทพวิทักษ์กิจ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดินทำการศึกษาวิจัย ผลของการทำเกษตรกรรมแบบเกษตรอินทรีย์ต่อปริมาณธาตุอาหารในดิน โดยได้คัดเลือกพื้นที่ดำเนินการ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ชลบุรี ระยอง ปราจีนบุรีและสระแก้ว รวม 11 อำเภอ 16 ตำบล รวม 163 ตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพดินในพื้นที่ของเกษตรกรที่มีการทำ เกษตรอินทรีย์ ประเภทไม้ผล พืชผักและสมุนไพรมามากกว่า 3 ปี และมีการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกและน้ำหมักชีวภาพที่ผลิตขึ้นเองจากวัสดุที่มีในท้องถิ่น เปรียบเทียบกับพื้นที่ของเกษตรกรข้างเคียงซึ่งไม่ได้ทำเกษตรอินทรีย์

จากการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการและตรวจสอบในภาคสนามพบว่าระดับ ค่าความเป็นกรดเป็นด่างในพื้นที่ที่ทำเกษตรอินทรีย์มีแนวโน้มว่าเพิ่มขึ้น กว่าพื้นที่ที่ไม่ได้ทำเกษตรอินทรีย์ นอกจากนี้ ยังพบว่าพื้นที่ที่มีการทำเกษตรอินทรีย์มากกว่า 3 ปี จะมีระดับธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในสัดส่วนที่สูงกว่าพื้นที่ที่ไม่ มีการทำเกษตรอินทรีย์ โดยเฉพาะปริมาณฟอสฟอรัสและปริมาณโพแทส เซียม แต่สำหรับพื้นที่ที่มีระดับของธาตุอาหารต่ำกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสม ยังมีความจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่เหมาะสมร่วมกับการใช้ปุ๋ย อินทรีย์ เพื่อให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นซึ่งกรมฯ มีโปรแกรมการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลงที่สามารถช่วยให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีได้ ตามสัดส่วนการใช้ในปริมาณที่ถูกต้องยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีเกินความจำเป็นที่ดินและพืชต้องการ.

ขอขอบคุณหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันอังคาร ที่ 24 สิงหาคม 2553

วันจันทร์ที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓

ไทยสอนมวยชาวโลก พืชน้ำมันไม่รุกข้าว



นิตย สารไทม์ส ฉบับวันที่ 7 เมษายน 2551 มีคอลัมน์พิเศษขึ้นปกว่า The Clean Energy Myth (เรื่องลวงของพลังงานสะอาด) พร้อมลงภาพฝักข้าวโพดห่อหุ้มไว้ด้วยธนบัตร และโปรยเรื่องประกอบภาพแปลความได้ว่า

ทั้งนักการเมือง และนักธุรกิจใหญ่ กำลังผลักดันเชื้อเพลิงชีวภาพ อย่างเช่น เอทานอล ที่ผลิตจากข้าวโพดไปเป็นเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมัน สิ่งที่คนเหล่านั้นกำลังทำจริงๆ ก็คือ การทำให้อาหารมีราคาแพงขึ้น และ ทำให้ภาวะโลกร้อนรุนแรงยิ่งขึ้น โดยที่ตัวคุณเอง (หมายถึง คนอ่านที่สนับสนุนการกระทำดังกล่าว) กำลังเป็นคนจ่ายค่าโง่ให้กับสิ่งเหล่านี้



เคย สงสัยกันบ้างหรือไม่ เหตุใดพืชอาหารบางชนิด ที่สามารถดัดแปลงไปเป็นพลังงานทดแทนได้ อย่างเช่น อ้อย มันสำปะหลัง น้ำมันปาล์ม หรือข้าวโพด จู่ๆจึงกลายเป็นผู้ร้ายหรือตัวก่อปัญหา

ทั้ง ที่ไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ การปลูกพืชดังกล่าว ได้รับการยกย่องว่า เป็นความชาญฉลาดของมนุษยชาติที่รู้จักเลือกสรรเชื้อเพลิงสะอาดมาช่วยแก้ ปัญหาน้ำมันเชื้อเพลิงราคาแพง แถมยังช่วยลดภาวะโลกร้อน

ภาพลักษณ์ของ พืชพลังงานทดแทนเหล่านั้น เมื่อวันวานเคยเปรียบได้กับ "พระเอกผู้กอบกู้โลก" มาวันนี้หลังจากมีข่าวเชิงลบออกมากระหน่ำ ตามสายตาชาวโลกส่วนหนึ่งกำลังมองว่า ไม่ต่างกับ "พืชพระเอกในคราบผู้ร้าย"

การ ที่องค์การสหประชาชาติ และธนาคารโลก ออกมาเตือนทุกประเทศให้ระวังวิกฤตการณ์ขาดแคลนอาหาร เพราะเห็นว่าการทุ่มปลูกพืชที่ใช้เป็นอาหารของมนุษย์ เพื่อนำไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงทดแทน โดยการขยายพื้นที่ปลูกอ้อย มันสำปะหลัง ถั่วเหลือง ปาล์มน้ำมัน และข้าวโพดอย่างกว้างขวางทั่วโลก

นอกจาก ส่งผลกระทบต่อพื้นที่เพาะปลูกพืชเดิมของแต่ละท้องถิ่น ยังทำให้ผลผลิตของพืชที่ใช้บริโภคหลัก อย่างเช่น ข้าว และข้าวสาลี ลดลงไปด้วย

การที่หลายประเทศมีนโยบายส่งเสริมให้ปลูกพืชพลังงาน เพื่อนำไปใช้ ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ยกตัวอย่าง น้ำมันเบนซินผสมกับเอทานอล ซึ่งสกัดได้จากอ้อย มันสำปะหลัง หรือข้าวโพด หรือใช้มาตรการสนับสนุนเชื้อเพลิงชีวภาพในรูปแบบอื่น

ปัจจัยข้างต้น มีส่วนผลักดันให้เกษตรกรในหลายประเทศ เร่งขยายพื้นที่ปลูกพืชพลังงานทดแทนกันอย่างมโหฬาร ทำให้พื้นที่เดิมซึ่งเคยเป็นป่าเขา ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ หรือป่าชายเลน แม้กระทั่งแหล่งที่เคยใช้ทำนาปลูกข้าว ถูกปรับเปลี่ยน แผ้วถาง หรือบุกรุกทำลายเพื่อหันไปปลูกพืชพลังงานกันอย่างกว้างขวาง

ผลที่ ตามมา บางประเทศที่เคยมีผลผลิตข้าวเพียงพอสำหรับเลี้ยงคนในประเทศตัวเอง และเหลือส่งออก เริ่มไม่เพียงพอ กลายเป็นประเทศที่ต้องนำเข้าข้าวจากประเทศอื่น ดังมีตัวอย่างเช่น อินเดีย และอินโดนีเซีย เป็นต้น

นอกจากนี้ ในบางประเทศที่เกษตรกรส่วนใหญ่ ไม่มีพื้นที่ทำกินเป็นของตัวเอง ยังผลักดันให้เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน ป่าชายเลน หรือทุ่งหญ้าใช้เลี้ยงสัตว์ แปรสภาพไปเป็นพื้นที่ปลูกอ้อย มัน หรือปาล์มน้ำมัน เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบผลิตพลังงานทดแทน



ภาพรวม ของปัญหาที่เชื่อมกันเป็นลูกโซ่ ไม่เพียงส่งผลให้พื้นที่ซึ่งเคยใช้ปลูกพืชอาหารเลี้ยงชาวโลกลดลงเรื่อยๆ การที่โลกใบนี้ยังต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากภาวะโลกร้อน ทำให้ดิน ฟ้า อากาศ แปรปรวน

นอกจากผลักดันให้พืชอาหารหลัก อย่างข้าว หรือข้าวสาลี มีราคาแพงขึ้น

ยัง ผลักดันให้ราคาพืชอาหารรองบางอย่าง เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ถั่วเหลือง และน้ำมันปาล์ม ถีบตัวสูงตามไปด้วย เพราะเกิดการแย่งใช้กันระหว่างภาคอาหาร (ให้คนกิน) กับภาคยานยนต์ (ให้เครื่องยนต์กิน)

เหนืออื่นใด ความเชื่อที่มีอยู่เดิมว่า การขยายผลผลิตพืชพลังงานทั่วโลก คือ หนทางช่วยลดภาวะโลกร้อน เพราะการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก หรือพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น ย่อมช่วยเพิ่มตัวดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ต้นเหตุสำคัญที่ทำให้โลกร้อน

...แต่ผลของการศึกษาล่าสุด กลับได้ข้อสรุปออกมาว่า การที่ทั่วโลกตั้งหน้าตั้งตาขยายพื้นที่ปลูกพืชพลังงาน เมื่อเทียบกับ สัดส่วนการลดลงของพื้นที่ป่า ป่าชายเลน และ ทุ่งหญ้า ซึ่งถูกบุกรุกแผ้วถาง เปลี่ยนไปเป็นพื้นที่ปลูกพืชพลังงาน

ท้ายที่สุดแล้ว หักกลบลบกัน แทนที่จะเกิดผลดีช่วยลดภาวะโลกร้อน กลับจะมีผลเสียมากกว่า

เพราะ การที่โลกใบนี้ต้องสูญเสียพื้นที่ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ขนาดใหญ่ในธรรมชาติ ทั้งที่เป็นป่าเขา ป่าชายเลน และทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ แลกกับการเปลี่ยนสภาพไปเป็นพื้นที่สีเขียวปลูกพืชพลังงาน เป็นการได้ที่ไม่คุ้มเสีย

เหลียวกลับมามองเมืองไทย ด้านหนึ่งเรามีนโยบายส่งเสริมการผลิตพืชพลังงาน โดยกำหนดเป็นแผนแม่บทด้านพลังงานทดแทนระยะยาว 15 ปี ตั้งแต่ปี 2551-2565 เพื่อเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนให้มากขึ้น

แถมยังตั้งเป้าให้ ภาคอีสาน เป็นแหล่งผลิตพืชพลังงานทดแทนที่สำคัญของประเทศ โดยนำที่ดินทิ้งร้างจากส่วนราชการมาแจกจ่ายให้เกษตรกร เช่าปลูกพืชพลังงานทดแทน หวังลดการพึ่งพานำเข้าน้ำมันปิโตรเลียมของประเทศในอนาคต



แต่ อีกด้าน....เราถูกค้ำคอด้วยอนุสัญญา ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งมีภาระหน้าที่หลัก ต้องไม่ทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และระบบนิเวศตามธรรมชาติ โดยต้องปฏิบัติตามพันธกรณีของอนุสัญญาฯ ในข้อที่ 1๚12

ประเด็นที่ดูเหมือนขัดแย้งกันอยู่ในที สร้างความหนักใจให้เมืองไทยไม่น้อย

แต่ สุวิทย์ คุณกิตติ รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งถูกเชิญไปเป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับเอเชียแปซิฟิก ว่าด้วยการส่งเสริมผลิตและใช้ประโยชน์จากเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างยั่งยืน ซึ่งจัดที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ เมื่อไม่นานมานี้ สามารถหาทางออก เอาตัวรอดไปได้ อย่างหวุดหวิด

เขาบอกว่า การที่ประเทศไทยมีบ่อน้ำมันบนดินมากมาย ทั้งไร่อ้อย มันสำปะหลัง และน้ำมันปาล์ม ทำให้คนไทยสามารถพึ่งพาตนเองด้านพลังงานได้มากกว่าหลายประเทศ

"แม้ ประเทศสมาชิกตามอนุสัญญา เป็นห่วงว่า รัฐบาลไทยส่งเสริมให้ปลูกพืชพลังงานทดแทนน้ำมัน จะไปเร่งให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่ามากขึ้น ขอเรียนว่าปัญหานี้จะไม่เกิด เพราะก่อนที่เราจะส่งเสริมให้ปลูกพืชพลังงาน เราได้กันพื้นที่ป่าอนุรักษ์ออกไว้ก่อนแล้ว ส่วนป่าสัมปทานที่หมดอายุ ก็จะนำไปผนวกเข้าไว้กับพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เรื่องนี้จึงหมดห่วง"

สำหรับ ข้อห่วงใยถัดมา ที่นานาชาติมองว่า การที่ไทยระดมปลูกพืชพลังงานครั้งใหญ่ อาจมีผลต่อพื้นที่ปลูกพืชอาหารหลัก อย่างข้าว ซึ่งไทยเป็นประเทศส่งออกข้าวอันดับต้นของโลก และมีชาวโลกฝากท้องไว้กับข้าวไทยหลายร้อยล้านชีวิต

รัฐมนตรีฯ สุวิทย์ ชี้แจงประเด็นนี้ว่า ปัจจุบันไทยส่งออกข้าวไปขายต่างประเทศประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลืออีก 30 เปอร์เซ็นต์ ใช้บริโภคในประเทศ จึงเห็นได้ว่า เวลานี้ข้าวไทยยังไม่ขาดแคลนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

อย่าง ไรก็ตาม เขาเสริมว่า ข้อห่วงใยข้างต้น รัฐบาลไทยตระหนักดีและได้หาทางออกไว้แล้ว โดยการกำหนดพื้นที่ปลูกข้าว และพื้นที่ปลูกพืชพลังงาน แยกออกจากกันอย่างชัดเจน



"เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับว่า เราจะบูรณาการใช้ประโยชน์จากที่ดิน และบริหารจัดการน้ำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด"

"รัฐบาล มีแผนจะนำน้ำไปแจกจ่ายให้ถึงไร่นา ในพื้นที่ที่กำหนดทุกแปลง เพื่อให้เกษตรกรมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี แบบเดียวกับการต่อท่อน้ำประปาไปให้ใช้ตามบ้าน

ด้วยวิธีนี้จะช่วย เพิ่มผลผลิตต่อไร่ขึ้นมาเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ เมื่อผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ก็ไม่ต้องไปขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่ม ทำให้ปัญหาความสมดุลทางชีวภาพลดลงตามไปด้วย"

ทุกประเด็น ที่ รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชี้แจงต่อสื่อมวลชนและที่ประชุม เขาว่า ภายในระยะเวลา 6 เดือน นับจากนี้ น่าจะเริ่มมองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น

ตั้ง 6 เดือน แค่เริ่มมองเห็นภาพชัดขึ้น น่าหวั่นใจว่า รอให้เวลานั้นมาถึง ยังจะมีรัฐบาลชุดนี้อีกต่อไปหรือไม่.

อ้างอิงถึง http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/56513

วันอาทิตย์ที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓

สวัสดีปี2553

เกือบลืมสวัสดีปี2553 ขอให้ทุกท่านได้พบแต่ความสุขความเจริญนะครับ

10 เทรนด์ธุรกิจดาวรุ่งปีเสือ


เปิด 10 เทรนด์ธุรกิจดาวรุ่งปีเสือ ซึ่งจะเป็นโจทย์ใหญ่ให้หลายธุรกิจต้องปรับตัวเข้ากับทิศทางใหม่เพื่อช่วงชิงโอกาสทางธุรกิจ

ก้าวสู่ศักราชใหม่ 2553 การ เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในทุกธุรกิจ เพื่อตอบโจทย์สภาพแวดล้อม สังคม และพฤติกรรมผู้บริโภค เราประเมินทิศทางการปรับตัว และแนวโน้มธุรกิจที่เรียกได้ว่าเป็น "10 เทรนด์ธุรกิจดาวรุ่งปีเสือ" ซึ่งจะเป็นโจทย์ใหญ่ให้หลายธุรกิจต้องปรับตัวเข้ากับทิศทางใหม่เพื่อช่วงชิงโอกาสทางธุรกิจ



กรีนคอนเซปต์แรงระดับโกลบอล

ภาวะโลกร้อน (Global Warming) เป็น กระแสที่ทำให้ทั่วโลกตื่นตัว ผู้บริโภครับรู้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งกระแสดังกล่าวทำให้ภาคอุตสาหกรรมต้องปรับตัวต้องปรับตัวผลิตสินค้า -บริการ เพื่อร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรและช่วยลดปัญหาโลกร้อน พร้อมกับหาโอกาสทางธุรกิจไปด้วย

กระแส โลกร้อน ไม่เพียงแต่ธุรกิจเอกชนเท่านั้นที่ต้องปรับตัว แม้ขณะนี้ผลการประชุมที่กรุงโคเปนเฮเกน มีเพียงการลงนามความเห็นร่วมกันที่จะควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูง ขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส แต่ก็เป็นอีกก้าวของนานาชาติในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน รวมถึงการลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือ ภาวะก๊าซเรือนกระจก ที่มีความสำคัญต่อการสัมพันธภาพระหว่างประเทศ และการค้าของโลกในยุคนี้

ใน ส่วนภาครัฐ กระทรวงพลังงานได้กำหนดนโยบายให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และมีมาตรการลดการใช้พลังงานหลายด้านทั้ง กฎหมาย การบริหารส่งเสริม และรณรงค์ในภาคประชาสังคม โดยเฉพาะภาคขนส่ง พร้อมส่งเสริมให้มีโครงการพลังงานตามกลไกพัฒนาที่สะอาด (CDM) มากขึ้น โดยมีเป้าหมายเบื้องต้น ที่จะลดปล่อยก๊าซฯของภาคพลังงาน 72 ล้านตันต่อปี จาก 1. แผนพลังงานทดแทน 15 ปี (2551 - 2565) 42 และ 2. ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน 30 ล้านตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก 3.6 หมื่นล้านบาท

ไฮเทคเทรนด์ "3จี-บีบี" แรงเกินยั้ง

อีกเทรนด์ที่มาแรงคือ "ไฮเทคเทรนด์" ที่มารวดเดียว 3 เทรนด์เด่นเพื่อเติมสีสันให้ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคชาวไทย ได้ทุกรูปแบบ คือ เทคโนโลยี 3จี, สมาร์ทโฟน และแบล็คเบอร์รี (บีบี) ที่มาแรงกลายเป็น เครื่องมือการตลาดใหม่ๆ ให้กับหลายสินค้า-บริการ

เทคโนโลยี 3จี แม้ผู้ให้บริการมือถือทั้ง 3 ค่ายหลัก ต้อง "อกหัก" เพราะคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ชะลอการเปิดประมูลไลเซ่นไปไม่มีกำหนด แต่ก็ยังมี "ทีโอที 3จี" ซึ่ง บมจ.ทีโอที เปิดให้บริการในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลแล้ว เป็นทางเลือกสำหรับคนชอบลองของใหม่ ทำให้ผู้ผลิตอุปกรณ์ไฮเทค ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์ ต่างทยอยคลอดตัวเครื่องที่รองรับ 3จี ออกสู่ตลาด ตามเทรนด์ผู้ผลิตระดับโลก ที่ต้องการเร่งเสิร์ฟสินค้าของตัวเอง เจาะผู้ใช้ 3จี ในมาก 70 ไลเซนทั่วโลกที่เปิดให้บริการไปแล้ว

ส่วนมือถือสมาร์ทโฟน ที่ผ่านมาเด่นได้โดยไม่ต้องโหนกระแส 3จี แม้วิกฤติเศรษฐกิจที่รุนแรงถึงขั้นฉุดมูลค่าตลาดมือถือไทยติดลบเป็นครั้งแรกในปี 2552 แต่ ยอดขายมือถือในกลุ่มสมาร์ทโฟน ทั้งมูลค่าและยอดขายยังเติบโตทะลุร้อยเปอร์เซ็นต์และแนวโน้มมือถือรุ่นใหม่ๆ ที่จะออกสู่ตลาดจากนี้ไป มีสัดส่วนที่เป็นสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น ทั้งจากแบรนด์ผู้ผลิตมือถือเอง และแบรนด์ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ ที่โดดเข้ามาร่วมวง

เสริม ทัพด้วยเทรนด์น้องใหม่ที่แรงแบบ "แบรนด์เล็กเสียงดัง" ตัวจริง คือ แบล็คเบอร์รี (บีบี) จากบริษัทสัญชาติแคนาดา "อาร์ไอเอ็ม" ที่กระโดดข้ามจากการเป็นผู้ช่วยส่วนตัวสำหรับ "นักธุรกิจ" มาติดกลุ่มสินค้า "Must Have Item" ของ ผู้มีแรงซื้อไม่ว่าจะเป็น วัยรุ่น นักศึกษา คนทำงาน ไปจนถึงดารา จนกระแส "บีบี ฟีเวอร์" พัฒนาขึ้นมาเป็น "บีบี คอมมูนิตี้" แทบทุกสาขาอาชีพในปัจจุบัน

"โซเชียล เน็ตเวิร์ค" เทรนด์ซึมลึก

อีกเทรนด์ที่มาแรงไม่แพ้กัน คือ "โซเชียล เน็ตเวิร์ค" ที่ปฏิวัติโลกสื่อสาร คนไทยแห่ใช้ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊คยอดพุ่งกว่า 2 ล้านคน กูรูอินเทอร์เน็ตเผยจุดแข็ง สื่อสารได้เร็วกว่าสื่อกระแสหลัก คาดสร้างอิทธิพลเหนือสื่อดั้งเดิมอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

"ปี 2553 จะเป็นปีที่เติบโตมากที่สุด ต่อเนื่องจากปี 2552 เมื่อรวมเฉพาะเว็บ ทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊ค ปัจจุบันมีจำนวนสมาชิกในไทยมากกว่า 2 ล้าน คน และจะเป็นปีที่มีสินค้าและบริการอีกมากหันมาใช้ช่องทางของโซเชียลเว็บ ทำตลาดเพิ่มขึ้นอย่างจริงจัง" นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการบริษัท ตลาดดอทคอม และกูรูด้านโซเชียล เน็ตเวิร์ค กล่าว

ขณะ ที่นายสุทธิชัย หยุ่น บรรณาธิการอำนวยการ บมจ.เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป กล่าวว่า โซเชียล เว็บ โดยเฉพาะทวิตเตอร์ ถือเป็นช่องทางใหม่สำหรับการเสนอข่าวได้รวดเร็วที่สุด ทำให้เกิดสังคมของการตรวจสอบ เนื่องจากการทวิตทุกข้อความ จะเปิดโอกาสให้มีผู้แสดงความคิดเห็น ในจำนวนนี้จะมีคนที่รู้จริงเข้ามาแลกเปลี่ยนด้วย เชื่อว่าอีก 5 ปีข้างหน้า ทวิตเตอร์จะยังเป็นหนึ่งในกระแสหลัก

"ทวิตเตอร์ กลายเป็นจัตุรัสของข่าวสาร เป็นช่องทางนำเสนอได้เร็วกว่าสื่ออื่นๆ ตอนนี้ เร็วกว่าเว็บไซต์ ขณะเดียวกันก็เป็นสื่อที่ตรวจสอบอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องกลัวว่าจะเกิดการหลอกลวง เพราะคนที่รู้จริงจะเข้ามาโพสต์ข้อมูลจริง ทำให้เกิดการเช็คข้อมูลต่อๆ ได้รวดเร็ว" นายสุทธิชัย กล่าว

"เคเบิล-ทีวีดาวเทียม" เทรนด์สื่อใหม่ปี 53

ธุรกิจ ทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวี กลายเป็นกระแส "สื่อใหม่" มาแรง นับตั้งแต่ประกาศใช้ พ.ร.บ.การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ปี 2551 เมื่อมีกฎหมายรองรับจากเดิมที่ถูกมองเป็นธุรกิจสีเทา และการกำหนดให้มีโฆษณาได้ชั่วโมงละ 6 นาที ยิ่งสร้างความคึกคัก เป็นสื่อทางเลือกสำหรับการใช้งบโฆษณา

ตลอดปี 2552 เอจีบี นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช รายงานว่าสมาชิกทรูวิชั่นส์ เติบโต 99% หรือกว่า 1.5 ล้านราย ไม่ต่างจากการติดตั้งจานดาวเทียมที่เพิ่มจาก 1.5 ล้านจานเป็น 3 ล้านจาน ขณะที่สมาชิกเคเบิลทีวีท้องถิ่น เติบโต 24% หรือกว่า 2 ล้านครัวเรือน

ธุรกิจทีวีดาวเทียมยังเป็นตลาด "Blue Ocean" ที่ มีโอกาสเติบโตสูงจากการเปลี่ยนพฤติกรรมการรับชมรายการทีวีของครัวเรือนไทย ที่จะเปลี่ยนจากเสาอากาศก้างปลา มาเป็นจานรับสัญญาณดาวเทียมและสมาชิกเคเบิลทีวี ตลอดปี 2552 พบ การลงทุนของผู้ประกอบการรายเดิม และรายใหม่เข้าสู่ธุรกิจสื่อใหม่นี้อย่างต่อเนื่อง แทบจะเรียกได้ว่ามีการเปิดตัวของช่องรายการใหม่ "ทุกสัปดาห์" เชื่อว่าปี 2553 ยังมีการลงทุนของช่องรายการใหม่ไม่ต่างจากปีก่อน

"ครีเอทีฟเทรนด์" พ่วงวัฒนธรรม

วิกฤติ ต้มยำกุ้งสู่วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ผู้กำหนดนโยบายประเทศทั่วโลกเริ่มมองหาเสาค้ำเศรษฐกิจรูปแบบใหม่มาเสริมความ แข็งแกร่งประเทศ ในยามที่ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ และภาคการเกษตร ถูกสั่นคลอนจากวิกฤติเศรษฐกิจ นักเศรษฐศาสตร์มองว่า วัฒนธรรม อาหาร ดนตรี และศิลปะ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละประเทศ สามารถแปรรูปเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ภายใต้บริบทที่เรียกว่า "Creative Economy" โดย เฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อโลกาภิวัตน์และเทคโนโลยีการสื่อสารช่วยส่งผ่าน เผยแพร่ ถ่ายทอดศิลปะและวัฒนธรรมให้แทรกซึมข้ามพรมแดนได้อย่างรวดเร็ว

เกาหลี ใต้ เป็นตัวอย่างระบบเศรษฐกิจบนฐานความคิดสร้างสรรค์ที่ประสบความสำเร็จ และเป็นกรณีศึกษาที่รัฐบาลภายใต้การนำของพรรคประชาธิปัตย์มองเห็นโอกาสใหม่ การเสริมรากฐานเศรษฐกิจให้แข็งแกร่ง เศรษฐกิจสร้างสรรค์จึงกลายเป็น "Motto" ที่จุดกระแสขึ้นมาตั้งแต่ปี 2552

"ซีเอสอาร์" เทรนด์ธุรกิจอยู่คู่สังคม

ความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR (Corporate Social Responsibility) พิสูจน์ แล้วว่ามีความสำคัญไม่น้อยต่อธุรกิจ ซึ่งผู้ประกอบการไม่อาจมองข้ามหลายธุรกิจให้น้ำหนักการทำกิจกรรมซีเอสอา ร์มากขึ้น จากองค์กรใหญ่ ขยายสู่องค์กรระดับกลาง และแม้แต่ระดับเล็กก็มีมุมมองและกิจกรรมที่ตอบแทนให้กับสังคมเช่นกัน

ปัจจุบัน ผู้บริโภคคุ้นเคยกับกิจกรรมทางสังคมของบริษัทน้อยใหญ่ บางอย่างเป็นเพียงแค่กิจกรรมตลาดธรรมดาด้วยการอาศัยกระแส "ซีเอสอาร์" แต่ในปี 2553 เมื่อสังคมเผชิญกับปัญหาหลายด้าน ดังนั้นกระแส "ซี เอสอาร์"สำหรับองค์กรธุรกิจทุกระดับจึงเป็นสิ่งจำเป็น และเชื่อว่าการเรียกร้องให้ธุรกิจต้องรับผิดชอบต่อสังคมจะดังขึ้นเรื่อยๆ และเป็นทิศทางการปรับตัวของธุรกิจต่อไปอีกนาน

"ซีเอสอาร์" ยังได้รับแรงกดดัน จากสิทธิของชุมชนตามรัฐธรรมนูญปี 2550 โดยเฉพาะกรณีนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และอาจเป็นแรงกระตุ้นให้ธุรกิจต้องทำ "ซีเอสอาร์" อย่างจริงจังมากขึ้น ไม่เพียงเป็นแค่รูปแบบ

คอมแพค-อินสแตนท์ชิ้นเล็กมาเร็ว
อีกเทรนด์ที่คาดว่าจะมาแรงข้ามปี จาก 2552 ต่อเนื่องถึงปี 2553 คือ ทิศทางสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ ความเป็นคอมแพค สินค้าชิ้นเล็กๆ และอินสแตนท์ ที่ตอบโจทย์เรื่องความสะดวกสบาย การใช้ชีวิต กำลังเป็นเทรนด์ใหม่มาแรงที่จับต้องได้ในหลายๆ ธุรกิจธุรกิจ ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับเทรนด์การบริโภคของคนรุ่นใหม่ ที่ชอบความสะดวกรวดเร็วและใส่ใจในสุขภาพ ส่งผลให้กลุ่มอาหารแนวสุขภาพ อาหารพร้อมทาน และอาหารแช่แข็ง จะเป็นกระแสร้อนแรงของการบริโภคตลอดปี 2553

แต่ที่แรงไม่หยุดคือปัจจัยสี่ตลอดปี 2553 คือ คอนโดมิเนียม เกาะแนวรถไฟฟ้า ซึ่งตอบโจทย์ทั้งเรื่องความกะทัดรัด คอมแพคไซส์ และเป็นอินสแตนท์พร้อมใช้สะดวกสบายตอบโจทย์การใช้ชีวิตคนเมืองได้อย่างเต็ม ที่

เช่นเดียวกับ คอมแพคคาร์ รถเล็กที่มาแรงตั้งแต่ปี 2552 และคาดว่าในปี 2553 เรา จะเห็นรถเล็กจากหลายค่ายออกมาจำหน่าย ซึ่งกลายเป็นสินค้าชูโรงที่ใช้เรียกลูกค้า สร้างยอดขาย และสอดคล้องกับทิศทางตลาดโลก ที่นิยมรถคันเล็กเพื่อตอบโจทย์เรื่องความคล่องตัว ประหยัดพลังงาน และความเป็นซิตี้ลิฟวิ่งได้อย่างครบถ้วน

"ลองเทลมาร์เก็ตติ้ง" แรงบนโลกออนไลน์

อีกทฤษฎีการตลาดที่จะแรงข้ามปี คือการตลาดหางยาว ที่เรียกคุ้นหูว่า ลองเทลมาร์เก็ตติ้ง (Long tail Marketing) ซึ่งปี 2552 พัฒนาการไปอีกขั้น เนื่องจากความแรงของสื่อออนไลน์ ความเชื่อตามทฤษฎี 20:80 ค่อยๆ ถูกลบล้าง และถูกทดแทนภายใต้ความเชื่อใหม่ของลองเทล มาร์เก็ตติ้งว่า ไม่ควรละเลยผู้บริโภค 80% ที่ไม่สร้างคุณค่าในธุรกิจ แต่นักการตลาดต้องกินรวบผู้บริโภคทั้ง 100% แม้ในสัดส่วน 80 ของผู้บริโภคที่ไม่สร้างคุณค่าให้กับธุรกิจนั้น เมื่อรวมกันมากๆ เข้า ก็ทำให้เกิดมูลค่ามหาศาลไม่แพ้ ผู้บริโภคที่ทรงคุณค่าเพียง 20% โดย เฉพาะอย่างยิ่งกระแสสื่อออนไลน์ ได้เปลี่ยนมุมมองให้นักการตลาดด้วยการตอกย้ำว่า ลองเทลมาร์เก็ตติ้ง ก้าวสู่พัฒนาการไปสู่โลกออนไลน์

ผศ.ดร. ธีรพันธ์ โล่ห์ทองคำ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ธรู เดอะ ไลน์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์การตลาด ไอเอ็มซี และแบรนดิ้ง กล่าวถึงพัฒนาการของ ลองเทล มาร์เก็ตติ้ง น่าสนใจนับตั้งแต่ การทำตลาดในระดับล่าง พัฒนามาเป็น การทำตลาดแบบเจาะกลุ่มเป้าหมาย จากนั้นพัฒนาเป็น "One To One Marketing" เจาะลึกผู้บริโภคที่มีความต่างหลากหลาย เป็นการพัฒนาการด้านกลยุทธ์

คอน เซปต์ใหม่ "อีมาร์เก็ตติ้ง" ทำให้เกิดการทำตลาดบนสื่อออนไลน์ ซึ่งนักการตลาดเข้าไปศึกษาธุรกิจการค้าขายบนออนไลน์ พบว่า ลูกค้าในกลุ่ม 80% สามารถสร้างธุรกิจได้ถึง 61% ขณะที่ 20% สร้างธุรกิจได้เพียง 59% ตัวเลขนี้นำสู่ข้อขัดแย้งใหม่ว่า แนวคิด 20/80 ไม่ อาจใช้ได้กับธุรกิจทุกประเภท อย่างน้อยๆ การค้าขายบนออนไลน์ ซึ่งไม่มีเรื่องของหน้าร้าน ไม่มีการบริหารสต็อก ไม่ต้องทุ่มเม็ดเงินผ่านการสื่อสารการตลาดแบบแมสมีเดีย ได้ผลตอบแทนจากกลุ่มที่ธุรกิจเคยเพิกเฉย ทำให้ลองเทล มาร์เก็ตติ้ง บนโลกออนไลน์ ยิ่งสะท้อนความสำคัญของผู้บริโภค 80% มากขึ้น


อ้างอิง http://www.wiseknow.com/content/view/2520/1/