วันพุธที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

ศูนย์ต้นแบบพลังงานทดแทนครบวงจร


รัฐบาลได้กำหนดให้มีการพัฒนาและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนเป็นวาระแห่งชาติ โดยตั้งเป้าที่จะลดปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลให้ได้ 10% ภายในปี พ.ศ. 2555 ขณะที่มุ่งส่งเสริมให้มีการใช้ไบโอดีเซลเพื่อทดแทนพลังงานเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะมีความต้องการใช้สูงถึง วันละ 8.5 ล้านลิตร สำหรับวัตถุดิบที่สามารถนำมาผลิตเป็นไบโอดีเซลได้นั้น คือ พืชน้ำมันทั่วไป โดยเฉพาะ “ปาล์มน้ำมัน” จัดเป็นพืชที่มีศักยภาพสูงซึ่งปัจจุบันพื้นที่เพาะปลูกได้ขยายตัวไปกว่า 3.62 ล้านไร่ทั่วประเทศ แม้แต่เกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังให้ความสนใจและต้อง การปลูกพืชชนิดนี้ กรมวิชาการเกษตรจึงจัดทำ “ศูนย์ต้นแบบการบริหารวัตถุดิบเพื่อพลังงานทดแทนครบวงจร” ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นต้นแบบให้ชุมชนต่าง ๆ นำไปประยุกต์ใช้โดยชุมชนและเพื่อชุมชน....

นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ขณะนี้กรม วิชาการเกษตรมีแผนเร่งดำเนินโครงการศูนย์ ต้นแบบการบริหารวัตถุดิบเพื่อพลังงานทดแทนครบวงจร นำร่องในพื้นที่จังหวัดเลย โดยเน้นให้เกษตรกรและท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เบื้องต้นได้ร่วมกับชุมชนเร่งสำรวจพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวและ พืชไร่ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนมาปลูกปาล์มน้ำมัน เป้าหมายรวมไม่น้อยกว่า 5,000 ไร่ ซึ่งได้รับความสนใจจากเกษตรกรในพื้นที่เกือบ 1,000 ราย จากนั้นจะให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯยืมต้นกล้าปาล์มน้ำมันพันธุ์ สุราษฎร์ธานี 2 ไปปลูกก่อน 4 ปี หลังจากที่ปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตแล้ว กำหนดให้ส่งคืนทะลายปาล์มสดแก่โครงการฯ ต้นละ 2-3 ทะลาย เพื่อเป็นค่ายืมต้นกล้า ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรเริ่มทยอยปลูกปาล์มน้ำมันไปแล้วกว่า 3,000 ไร่

ขณะที่กรมวิชาการเกษตรได้เร่งจัดเตรียมต้นกล้าปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีไว้รองรับ ความต้องการของเกษตรกรเพิ่มเติมอีกกว่า 85,000 ต้น สำหรับพื้นที่ปลูก 4,000-4,400 ไร่ อีกทั้งยังได้ประสานความร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อเตรียมจัดตั้งโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มต้นแบบระบบเย็น โดยกระบวนการสกัดจะแยกเส้นใยปาล์มออกจากกะลา แล้วนำเข้าเครื่องหีบน้ำมันให้ได้น้ำมันปาล์มออกมา ซึ่งระบบนี้มีความยุ่งยากน้อยกว่าการ สกัดแบบใช้ไอน้ำ จะได้กากเส้นใยที่มีคุณค่าสามารถนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ และไม่มีน้ำเสียเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตด้วย

ภายในปี พ.ศ. 2552 นี้ คาดว่าโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มจะเริ่มเดินเครื่องผลิตได้ โดยมีกำลังการผลิต 5 ตันต่อชั่วโมง สามารถรองรับผลผลิตทะลายปาล์มสดวันละไม่น้อยกว่า 50 ตัน คาดว่าจะผลิตน้ำมันปาล์มดิบได้วันละกว่า 10 ตัน หรือ 10,300 ลิตร ป้อนให้กับโรงงานผลิตไบโอดีเซลได้ ขณะเดียวกันยังจะได้กากเส้นใยวันละประมาณ 6.6 ตัน สามารถนำไปเลี้ยงโค-กระบือในพื้นที่ ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้มีแผนร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ส่งเสริมให้เกษตรกร ผู้เลี้ยงโค-กระบือกว่า 200 ราย รวมกลุ่มเพื่อสร้าง คอกกลาง และนำโค-กระบือมาเลี้ยงรวมกันประมาณ 600 ตัว โดยใช้กากเส้นใยปาล์มเป็นอาหารสัตว์

นายสมเจตน์ ประทุมมินทร์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการผลิตพืช สำนักผู้เชี่ยวชาญ กรมวิชาการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการฯยังมีแผนพัฒนาระบบเกษตรโดยใช้โครงสร้างเกษตรทฤษฎีใหม่และหลัก เศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อ นำไปสู่การพัฒนาและสร้างตลาดท้องถิ่นสำหรับสินค้าเกษตรปลอดภัยหรือเกษตร อินทรีย์ที่มีคุณภาพ โดยจำลองระบบตลาดท้องถิ่นจากประเทศญี่ปุ่นนำมาดัดแปลงใช้ พร้อมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ เกี่ยวกับโครง การฯต้นแบบการพัฒนาพื้นที่เป็นเมืองสะอาดแบบบูรณาการ และระบบการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย เป็นต้น

...นับเป็นช่องทางที่จะช่วยสร้าง อาชีพและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรได้ ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงในการประกบอาชีพเกษตรกรรม และยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของชุมชนและท้องถิ่นให้ดีขึ้นอีกด้วย.

ขอขอบคุณหนังสือพิมพ์ เดลินิวส์

วันจันทร์ที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

ชาวนาไทยยังยากจน-เป็นหนี้สิน


เคย เห็นชาวนาไทยร่ำรวยไหม ตั้งแต่จำความได้ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ยังไม่เคยเห็นชาวนาไทยร่ำรวยกับเขาเลย มีแต่เป็นหนี้เป็นสินกันอีนุงตุงนัง

ชาวนาไทยใช้จ่ายฟุ่มเฟือยหรือ จะว่าชาวนาไทยใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ก็คงไม่ได้ อาหารเคยทานอย่างไร เดี๋ยวนี้ก็ทานอย่างนั้น เคยเก็บผักเก็บหญ้า หัวไร่คันนา เด็ดกระถิน ตำลึง ที่ริมรั้ว เมื่อก่อนมาทานอย่างไร เดี๋ยวนี้ก็ยังเหมือนเดิม

เสื้อ ผ้าใส่อย่างไรก็ใส่อย่างนั้น ไม่ค่อยมีเสื้อผ้าใหม่เปลี่ยนกับเขาเลย แถมสุขภาพก็ไม่ดี ย่ำแย่ เจ็บออด ๆ แอด ๆ บ้านช่องก็ทรุดโทรม ฝนตกมา หลังคาก็รั่ว ซ่อมกันแล้วซ่อมกันอีก

วัวควาย หายไปไหนสิ่งที่เปลี่ยนไปก็คือ วัว ควาย ที่เมื่อก่อนกินหญ้าอยู่เต็มท้องทุ่ง เดี๋ยวนี้หายไปไหนหมด ใครตอบได้บ้าง

ลูก หลานชาวนาลูกหลานชาวนา ก็ไม่อยากจะทำนาสืบต่อไปแล้ว พากันเข้าเมืองเข้ากรุงมาหางานทำกันหมด เหลือไว้แต่คนแก่และเด็ก ๆ เฝ้าบ้าน รองานเทศกาลต่าง ๆ ที่ลูกหลานจะได้กลับมาเยี่ยมบ้าน

ความ จริงจังและจริงใจของรัฐบาลรัฐบาลไม่รู้ว่ากี่รัฐบาล ต่างก็รับปากจะช่วยเหลือชาวนาอย่างเต็มที่ แต่ก็ไม่เห็นรัฐบาลไหนช่วยอย่างจริงจังและจริงใจกันเลย

ต่างชาติ เตรียมจะฮุบที่ดินปัจจุบัน ก็ได้ข่าวว่า มีต่างชาติมาฮุบที่ดินของชาวนาไปก็มี ชาวนาจริง ๆ ที่มีที่ดินเป็นของตนเอง จะมีสักกี่รายในปัจจุบัน

ข้าวหอมมะลิดีที่สุดในโลกแต่รู้ไหมว่า ข้าวหอมมะลิ ที่ดีที่สุดในโลกนั้น ผลิตจากประเทศไทย โดยชาวนาไทยเป็นผู้ผลิตทั้งสิ้น

กระทู้ถาม ทำไมชาวนาไทยจึงยังคงยากจนและเป็นหนี้สินตลอดชาติ

ปัญหาและอุปสรรค มีอะไรบ้าง และทางออกหรือทางแก้ไขจะมีเช่นไร

ชาวนาไทยมีทางที่จะลืมตาอ้าปากขึ้นบ้าง ได้หรือไม่ ทำอย่างไร ชาวนา จึงจะมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ขอขอบคุณ www.talkystory.com

วันพฤหัสบดีที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

เลี้ยงปลาดุก-ปลูกผัก รายได้งาม 2 หมื่นต่อเดือน




นายเลอพงษ์ มุสิกะมาน รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมสหกรณ์ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการส่งเสริมสมาชิกและสหกรณ์ใน พื้นที่นิคมสหกรณ์ทั่วประเทศ ได้มีเอกสารสิทธิในที่ดินทำกิน มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง และจัดให้มีโครงการพัฒนาอาชีพให้แก่สมาชิกตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะทำให้สมาชิกมีรายได้เสริมจากกิจกรรมที่เข้าร่วมโครง การ ส่งผลให้สมาชิกนิคมสหกรณ์มีที่อยู่อาศัย มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง มีอาชีพสามารถเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

และล่าสุดได้ทำความเข้าใจกับเกษตรกรเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในที่ดินและ พัฒนา อาชีพสมาชิกในเขตนิคมสหกรณ์ดงเย็น จังหวัดมุกดาหาร โดยมีสมาชิกสหกรณ์จำนวน 200 คนเข้าอบรมและรับมอบหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (กสน.5)

“การอบรมในโครงการดังกล่าวจะให้ความรู้เกี่ยวกับประเภทที่ดินและการออก เอกสารสิทธิในเขตนิคมสหกรณ์ พร้อมทั้งยังได้ชี้แจงการนำหนังสือแสดงการทำประโยชน์ในที่ดินให้สมาชิกนิคม สหกรณ์สามารถนำไปออกโฉนดที่ดินหรือ นส.3 ก ในโอกาสต่อไปได้ ซึ่งจะทำให้ราษฎร ได้เห็นถึงความสำคัญของเอกสารสิทธิที่ดินและการใช้ประโยชน์ในที่ดินได้อย่าง ถูกต้องต่อไป” รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าว

รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า สำหรับโครงการพัฒนาอาชีพให้แก่สมาชิกตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงนั้นก็เพื่อเป็น การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่สมาชิกนิคมสหกรณ์ สามารถนำไปประยุกต์ในทางปฏิบัติได้จริง มีการปลูกพืชโดยใช้หลักปลูกพืชที่กิน กินพืชที่ปลูก เพื่อให้เห็นว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใช้ได้ทุกความคิด ชุมชนสามารถดูแลตนเองได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันเศรษฐกิจพอเพียงกำลังลงรากลึกเพื่อเป็นพื้นฐาน ให้สมาชิกนิคมสหกรณ์มีความเป็นอยู่ที่ดี ใช้ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมเพื่อให้สังคมมีความสุข โดยไม่สิ้นเปลืองทรัพยากร อยู่อย่างพอเพียงท่ามกลางกระแสเศรษฐกิจยุคโลกาภิวัตน์

นายเรืองรำไพ รุ่งโรจน์ เกษตรกร ตำบลดงเย็น อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร หนึ่งในผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการดังกล่าวเล่าให้ฟังว่า รายได้ทุกวันนี้คือขายลูกปลาดุก โดยทางนิคมให้การสนับสนุนทั้งความรู้และเงินทุนในเบื้องต้น 3,000 บาท นำมาซื้อผ้ายาง 1,000 บาท ทำการผสมเทียมปลาเอง ซึ่งได้เริ่มจากนำพ่อ-แม่พันธุ์ปลาดุกมาเลี้ยง 6 ตัว ซื้อมาจากหน่วยงานของกรมประมงคัดเอาแต่ตัวใหญ่ ๆ เลี้ยงประมาณ 3 ปี แล้วก็เพาะพันธุ์ มีปลาดุกรัสเซีย ปลาดุกยักษ์ปลาดุกอุย ลูกออกมาคู่ละประมาณ 3 หมื่นตัว เลี้ยง 28 วันก็ตัวละ 1 บาท

“ส่วนใหญ่ขายในตำบลก็หมดแล้วเขารู้ว่าเราเพาะพันธุ์ปลาขาย เกษตรนิคมก็มาเอาที่นี่ รับประกันถ้าตาย 1 ตัวแถม 2 ตัว เขาเอาไปเลี้ยงเมื่อโตก็เอาไปขาย รายได้รองลงมาก็ปลูกผัก มีรายได้ประมาณ 2 หมื่นต่อเดือน” นายเรืองรำไพ กล่าว

สมาชิกนิคมสหกรณ์ดงเย็นรายนี้ยังได้เล่าเพิ่มเติมด้วยว่า ปลาดุกที่เลี้ยงนั้นจะไม่เกิดโรค เพราะเลี้ยงใต้ต้นมะขาม ซึ่งมีใบมะขามหล่นลงไปในบ่อเลี้ยงตลอดเวลา ใบมะขามทำปฏิกิริยากับน้ำทำให้น้ำไม่มีโรคที่เป็นผลต่อปลา ไม่ต้องเปลี่ยนน้ำ ให้อาหารเม็ดและเสริมด้วยกระถิน ใบมันสำปะหลัง รำ โตได้ขนาดก็จับขาย ส่วนใหญ่มีพ่อค้ามารับซื้อถึงที่เลี้ยง.

ขอขอบคุณหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ เกษตรทั่วไทย